วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 นิทานเวตาล(เรื่องที่10)

ที่มาและความสำคัญ
     นิทานเวตาล  ฉบับพระนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยเรื่องเดิมมีชื่อว่า เวตาลปัญจวิงศติ (Vetala Panchavinshati) แปลว่า นิทาน ๒๕ เรื่องของเวตาล (ปัญจะ = ๕ ,วิงศติ = ๒๐) ศิวทาสได้แต่งไว้แต่โบราณ และโสมเทวะได้นำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่และรวมไว้ในหนังสือ กถาสริตสาคร    (Katha-sarita-sagara) ในราวศริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ ต่อมาในระหว่าง ค.ศ. ๑๗๑๙๑๗๔๙ (พ.ศ.๒๒๖๒-๒๒๙๒) พระราชาแห่งกรุงชัยปุระโปรดให้แปลนิทานเวตาลจากฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาอื่นๆอีกและต่อมามีผู้นำมาแปลเป็นภาษาฮินดี มีชื่อเรื่องว่า ไพตาลปัจจีสี (Baital Pachisi) รวมทั้งยังมีการนำมาแปลเป็นภาษาอื่นๆของอินเดียอีกแทบทุกภาษา
    ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและฉบับภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งร้อยเอกเซอร์ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนของตนเองให้คนอังกฤษอ่านโดยใช้ชื่อว่า Vikram and the Vampire or Tales of Hindu Devilry แต่ไม่ครบถ้วนทั้ง ๒๕ เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตันจำนวน ๙ เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์อีก ๑ เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ๑๐ เรื่อง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น