วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 นิทานเวตาล(เรื่องที่10)

ที่มาและความสำคัญ
     นิทานเวตาล  ฉบับพระนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยเรื่องเดิมมีชื่อว่า เวตาลปัญจวิงศติ (Vetala Panchavinshati) แปลว่า นิทาน ๒๕ เรื่องของเวตาล (ปัญจะ = ๕ ,วิงศติ = ๒๐) ศิวทาสได้แต่งไว้แต่โบราณ และโสมเทวะได้นำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่และรวมไว้ในหนังสือ กถาสริตสาคร    (Katha-sarita-sagara) ในราวศริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ ต่อมาในระหว่าง ค.ศ. ๑๗๑๙๑๗๔๙ (พ.ศ.๒๒๖๒-๒๒๙๒) พระราชาแห่งกรุงชัยปุระโปรดให้แปลนิทานเวตาลจากฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาอื่นๆอีกและต่อมามีผู้นำมาแปลเป็นภาษาฮินดี มีชื่อเรื่องว่า ไพตาลปัจจีสี (Baital Pachisi) รวมทั้งยังมีการนำมาแปลเป็นภาษาอื่นๆของอินเดียอีกแทบทุกภาษา
    ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและฉบับภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งร้อยเอกเซอร์ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนของตนเองให้คนอังกฤษอ่านโดยใช้ชื่อว่า Vikram and the Vampire or Tales of Hindu Devilry แต่ไม่ครบถ้วนทั้ง ๒๕ เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตันจำนวน ๙ เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์อีก ๑ เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ๑๐ เรื่อง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑

ลักษณะคำประพันธ์

   ลักษณะคำประพันธ์ นิทานเวตาลแต่งเป็นร้อยแก้ว (บางเรื่องมีกาพย์ กลอน หรือฉันท์แทรก) โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรสแต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องว่าเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้นเรียกว่า สำนวน น.ม.ส.”  

บทร้อยแก้ว

    บทร้อยแก้ว ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ว่า คือ   ความเรียงที่สละสลวยไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมายซึ่งยากกว่าการเขียนร้อยกรองนัก บทร้อยแก้วของไทยเราที่้เป็นที่รู้จัก และน่าภาคภูมิใจ ได้แก่ ไตรภูมิพระร่วง หรือเตภูมิกถา เป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เขียนเป็ อ่านเพิ่มเติม

จุดมุ่งหมายของการศึกษา

    จุดมุ่งหมายของการศึกษานิทานเวตาล(เรื่องที่๑๐) คือ เป็นการอ่านวรรณคดีที่ได้รับรู้เรื่องราวจากนิทานเวตาล(เรื่องที่๑๐) เพื่อความเพลิดเพลิน บันเทิงและความจรรโลงใจ คือ กล่อมเกลาจิตใจให้ผ่องแผ้วหายจากความหมกหมุ่น กังวล มีความคิดและอารมณ์ความรู้สีกคล้อยตามกวี การอ่านวรรณคดีจึงต้องพยายามทำความเข้าใจบทประพันธ์ให้แจ่มแจ้ง ใช้จินตนาการให้เข้าถึงอารมณ์ของกวีเพื่อที่จะได้เข้าถึงสารที่กวีต้องการสื่อ ซึ่งกวีถ่ายทอดโดยใช้ถ้อยคำเป็นสื่อ ผู้อ่านจึงต้องอ่านแล้วนำไปคิดใคร่ครวญจนตระหนักในคุณค่าขอองวรรณคดีทั้งด้านอารมณ์และข้อคิดที่ได้รับ การทำรายงานเรามีแนวทางการอ่านตามคำแนะนำของคุณครูอาจารย์และหนังสือแบบเรียนภาษาไทยวรรณคดีและวรรณกรรม ม.๔ คือ
๑.ไม่ควรอ่านเพื่อความเพลิดเพลินเพียงอย่างเดียวเราต้องอ่านอย่างวิเคราะห์เพื่อพิจารณาให้เห็นถึงความคิดและสาระอันมีประโยชน์ด้วย
๒.ควรแสดงความคิดเห็นหรือวิจักษ์วรรณคดีเรื่องที่อ่าน
๓.ควรอ่านวรรณคดีที่มีคุณค่าและได้รับการยกย่อง 

ประวัติผู้แต่ง

    พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้นิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้พระนามแฝง น.ม.สซึ่งทรงเลือกจากอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม(พระองค์เจ้า) รัชนีแจ่มจรัสพระนามแฝง น.ม.ส.เป็นที่รู้จักกันดีในนามนักเขียนและกวีที่มีโวหารพิเศษ คือ
คมคายและขบขัน เมื่อทรงเขียนเรื่องชีวิตของนักเรียนเมืองอังกฤษ ลงในหนังสือวชิรญาณครั้งแรกผู้อ่านก็ชอบใจทันที เพราะมีความแปลกใหม่ทั้งแนวเขียน แนวคิด ความชำนาญทางภาษาที่ยอดเยี่ยม จึงได้ทรงรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสูงทางคุณวุฒิหลายครั้ง เช่น องคมนตรี สภานายกราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น
     พระองค์ได้ทรงตั้งโรงพิมพ์และมีกิจการพิมพ์ส่วนพระองค์ที่ถนนประมวญ และทรงออกหนังสือเครือประมวญ ชื่อ ประมวญวัน และประมวญมารค
  งานพระนิพนธ์มีทั้ง ๒ ประเภท ดังนี้
๑.ประเภทร้อยแก้ว ได้แก่ จดหมายจางวางหร่ำ นิทานเวตาล สืบราชสมบัติ ตลาดเงินตรา พระนางฮองไทเฮา และที่ได้รับความนิยมเป้นอย่างมาก ได้แก่ บทความหลัก ได้แก่ บทความหน้า ๕ ในหนังสือประมวญวัน
๒.ประเภทร้อยกรอง ได้แก่ กนกนครคำกลอน พระนคคำฉันท์ สามกรุง 

พระประวัติและผลงานของพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ

พระประวัติ
    พระราชวรวงศ์ เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (หรือเรียกสั้นๆ ว่า วังหน้า”) และจอมมารดาเลียม (เล็ก) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙ มีพระนามว่า พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (ต้นสกุลรัชนี) โรงเรียนแห่ง อ่านเพิ่มเติม

ตัวละครหลัก

ตัวละครหลัก
    เวตาล เวตาลเป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งคล้ายค้างคาวผี เป็นวิญญาณร้ายที่วนเวียนอยู่ตามสุสานและคอยเข้าสิงอยู่ในซากศพต่างๆมันจะทำร้ายมนุษย์ที่เข้าไปรบกวน เหยื่อของเวตาลจะถูกเข้าสิงทำให้มือและเท้าหันไปข้างหลังเสมอ  เวตาลยังทำให้ผู้คนเป็น   อ่านเพิ่มเติม

เนื้อเรื่องย่อ

เรื่องย่อ
    ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่ อ่านเพิ่มเติม


ข้อคิด

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
     หากมนุษย์รู้จักใช้ปัญญาคิดไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วยและรอบด้าน แม้ปัญหาจะยากเย็นซับซ้อน เพียงใดก็สามารถแก้ไขหรือทำความเข้าใจได้เสมอ  แต่การใช้ปัญญาเพียงอย่างเดียวมิอาจแก้ปัญหาทุกสิ่งได้เสมอไป  มนุษย์ต้อ อ่านเพิ่มเติม

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

1.กระเหม่น หมายถึง เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเบาๆขึ้นเองตามลัทธิโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดี
2. โกรศ หมายถึง มาตราวัดความยาว เท่ากับ ๕๐๐ คันธนู
3. เขื่อง หมายถึง ค่อนข้างใหญ่ ค่อนข้างโต
4. คุมกัน หมายถึง รวมกลุ่มกัน
5. เครื่องประหลาด หมายถึง สิ่งที่ทำให้คนประหลาดใจ ในความว่า ความสาวของพระนางเป็นเครื่องประหลาดของคนทั้งหลาย
6. ดอกไม้ในสวน หมายถึง เปรียบกับหญิงสาวที่อยู่ในรั้วในวัง
7. ดอกไม้ป่า หมายถึง เปรียบกับหญิงสาวในชนบทหรือในหัวเมืองทั่วไป แต่มีความงามเป็นพิเศษ
8. ภิลล์ หมายถึง ชื่อชาวป่า อาศัยอยู่ตามแถบเขาวินธัยในอินเดีย
9. มูลเทวะบัณฑิต หมายถึง เป็นชื่อตัวละครในนิทานสันสกฤต เล่าว่าเป็นผู้รู้ศิลปวิทยาและมักกล่าวถ้อยคำเป็นคติสอนใจ
10. รี้พล หมายถึง ทหาร
11. สิ้นบุญ หมายถึง ตาย
12. หรอร่อย หมายถึง คือ ร่อยหรอ หมายความว่า ค่อยๆหมดไปทีละน้อย

ความรู้เพิ่มเติม

   ต้นอโศกหรือโศกมีกล่าวถึงในหนังสือวรรณคดีหลายเล่ม ในเรื่องกามนิตวาสิฏฐี ก็มีกล่าวว่า วาสิฏฐียกมือขึ้นบูชาต้นอโศก ซึ่งอยู่ตรง อ่านเพิ่มเติม

องค์ประกอบของนิทาน 
     การเขียนนิทาน เป็นเรื่องของจินตนาการ ผู้เขียนจะต้องมีศิลปะในการเขียนเพื่อให้ความสนุกสนานปลูกฝังคุณธรรม คติแง่คิดมุมมองต่างๆแก่ผู้อ่าน
 1. แนวคิด: แก่นสารหรือสาระที่จุดประกายให้เกิดเรื่องราว เช่น แม่กระต่ายผู้รักลูกสุดหัวใจยอมสละ อ่านเพิ่มเติม

บทวิเคราะห์ วิจารณ์

วิเคราะห์ วิจารณ์
 
คุณค่าด้านเนื้อหา
          นิทานเวตาลมีความดีเด่นด้านเนื้อหา  คือ  ให้ข้อคิดและแฝงคติธรรม  รวมทั้งความรู้ต่าง ๆ ไว้ดังนี้
   ความอดทนอดกลั้น  เป็นคำสอนในทุกศาสนา  กล่าวถึง  "ขันติ"  คือ  ความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ต่าง ๆ ไม่เป็นทาสอารมณ์  พระวิกรมาทิตย์เป็นปราชญ์ผู้เก่งกล้า  รอบรู้  และอยู่ในวรรณะกษัตริย์ที่ อ่านเพิ่มเติม