วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 นิทานเวตาล(เรื่องที่10)

ที่มาและความสำคัญ
     นิทานเวตาล  ฉบับพระนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยเรื่องเดิมมีชื่อว่า เวตาลปัญจวิงศติ (Vetala Panchavinshati) แปลว่า นิทาน ๒๕ เรื่องของเวตาล (ปัญจะ = ๕ ,วิงศติ = ๒๐) ศิวทาสได้แต่งไว้แต่โบราณ และโสมเทวะได้นำมาเรียบเรียงขึ้นใหม่และรวมไว้ในหนังสือ กถาสริตสาคร    (Katha-sarita-sagara) ในราวศริสต์ศตวรรษที่ ๑๒ ต่อมาในระหว่าง ค.ศ. ๑๗๑๙๑๗๔๙ (พ.ศ.๒๒๖๒-๒๒๙๒) พระราชาแห่งกรุงชัยปุระโปรดให้แปลนิทานเวตาลจากฉบับภาษาสันสกฤตเป็นภาษาอื่นๆอีกและต่อมามีผู้นำมาแปลเป็นภาษาฮินดี มีชื่อเรื่องว่า ไพตาลปัจจีสี (Baital Pachisi) รวมทั้งยังมีการนำมาแปลเป็นภาษาอื่นๆของอินเดียอีกแทบทุกภาษา
    ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและฉบับภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ รวมทั้งร้อยเอกเซอร์ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนของตนเองให้คนอังกฤษอ่านโดยใช้ชื่อว่า Vikram and the Vampire or Tales of Hindu Devilry แต่ไม่ครบถ้วนทั้ง ๒๕ เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตันจำนวน ๙ เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์อีก ๑ เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ ๑๐ เรื่อง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑

ลักษณะคำประพันธ์

   ลักษณะคำประพันธ์ นิทานเวตาลแต่งเป็นร้อยแก้ว (บางเรื่องมีกาพย์ กลอน หรือฉันท์แทรก) โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรสแต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องว่าเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้นเรียกว่า สำนวน น.ม.ส.”  

บทร้อยแก้ว

    บทร้อยแก้ว ตาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายไว้ว่า คือ   ความเรียงที่สละสลวยไพเราะเหมาะเจาะด้วยเสียงและความหมายซึ่งยากกว่าการเขียนร้อยกรองนัก บทร้อยแก้วของไทยเราที่้เป็นที่รู้จัก และน่าภาคภูมิใจ ได้แก่ ไตรภูมิพระร่วง หรือเตภูมิกถา เป็นพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เขียนเป็ อ่านเพิ่มเติม

จุดมุ่งหมายของการศึกษา

    จุดมุ่งหมายของการศึกษานิทานเวตาล(เรื่องที่๑๐) คือ เป็นการอ่านวรรณคดีที่ได้รับรู้เรื่องราวจากนิทานเวตาล(เรื่องที่๑๐) เพื่อความเพลิดเพลิน บันเทิงและความจรรโลงใจ คือ กล่อมเกลาจิตใจให้ผ่องแผ้วหายจากความหมกหมุ่น กังวล มีความคิดและอารมณ์ความรู้สีกคล้อยตามกวี การอ่านวรรณคดีจึงต้องพยายามทำความเข้าใจบทประพันธ์ให้แจ่มแจ้ง ใช้จินตนาการให้เข้าถึงอารมณ์ของกวีเพื่อที่จะได้เข้าถึงสารที่กวีต้องการสื่อ ซึ่งกวีถ่ายทอดโดยใช้ถ้อยคำเป็นสื่อ ผู้อ่านจึงต้องอ่านแล้วนำไปคิดใคร่ครวญจนตระหนักในคุณค่าขอองวรรณคดีทั้งด้านอารมณ์และข้อคิดที่ได้รับ การทำรายงานเรามีแนวทางการอ่านตามคำแนะนำของคุณครูอาจารย์และหนังสือแบบเรียนภาษาไทยวรรณคดีและวรรณกรรม ม.๔ คือ
๑.ไม่ควรอ่านเพื่อความเพลิดเพลินเพียงอย่างเดียวเราต้องอ่านอย่างวิเคราะห์เพื่อพิจารณาให้เห็นถึงความคิดและสาระอันมีประโยชน์ด้วย
๒.ควรแสดงความคิดเห็นหรือวิจักษ์วรรณคดีเรื่องที่อ่าน
๓.ควรอ่านวรรณคดีที่มีคุณค่าและได้รับการยกย่อง 

ประวัติผู้แต่ง

    พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้นิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้พระนามแฝง น.ม.สซึ่งทรงเลือกจากอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม(พระองค์เจ้า) รัชนีแจ่มจรัสพระนามแฝง น.ม.ส.เป็นที่รู้จักกันดีในนามนักเขียนและกวีที่มีโวหารพิเศษ คือ
คมคายและขบขัน เมื่อทรงเขียนเรื่องชีวิตของนักเรียนเมืองอังกฤษ ลงในหนังสือวชิรญาณครั้งแรกผู้อ่านก็ชอบใจทันที เพราะมีความแปลกใหม่ทั้งแนวเขียน แนวคิด ความชำนาญทางภาษาที่ยอดเยี่ยม จึงได้ทรงรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสูงทางคุณวุฒิหลายครั้ง เช่น องคมนตรี สภานายกราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น
     พระองค์ได้ทรงตั้งโรงพิมพ์และมีกิจการพิมพ์ส่วนพระองค์ที่ถนนประมวญ และทรงออกหนังสือเครือประมวญ ชื่อ ประมวญวัน และประมวญมารค
  งานพระนิพนธ์มีทั้ง ๒ ประเภท ดังนี้
๑.ประเภทร้อยแก้ว ได้แก่ จดหมายจางวางหร่ำ นิทานเวตาล สืบราชสมบัติ ตลาดเงินตรา พระนางฮองไทเฮา และที่ได้รับความนิยมเป้นอย่างมาก ได้แก่ บทความหลัก ได้แก่ บทความหน้า ๕ ในหนังสือประมวญวัน
๒.ประเภทร้อยกรอง ได้แก่ กนกนครคำกลอน พระนคคำฉันท์ สามกรุง 

พระประวัติและผลงานของพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ

พระประวัติ
    พระราชวรวงศ์ เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเป็นโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (หรือเรียกสั้นๆ ว่า วังหน้า”) และจอมมารดาเลียม (เล็ก) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙ มีพระนามว่า พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (ต้นสกุลรัชนี) โรงเรียนแห่ง อ่านเพิ่มเติม

ตัวละครหลัก

ตัวละครหลัก
    เวตาล เวตาลเป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งคล้ายค้างคาวผี เป็นวิญญาณร้ายที่วนเวียนอยู่ตามสุสานและคอยเข้าสิงอยู่ในซากศพต่างๆมันจะทำร้ายมนุษย์ที่เข้าไปรบกวน เหยื่อของเวตาลจะถูกเข้าสิงทำให้มือและเท้าหันไปข้างหลังเสมอ  เวตาลยังทำให้ผู้คนเป็น   อ่านเพิ่มเติม